ซื้อบ้าน-ขยายกิจการ เคล็ดลับดี ๆ จากโบรกเกอร์คนไทยถึงเจ้าของร้านอาหารในออสเตรเลีย

แนะนำบริการดี ๆ จากโบรกเกอร์คนไทยที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินเชื่อเพื่อการซื้อบ้านในประเทศออสเตรเลีย กับคุณชมพู่ จาก บริษัท TMP Financial Services

ต้องขอเกริ่นก่อนว่าทางบริษัท TMP Financial Services นั้นรับให้คำปรึกษากับบุคคลทั่วไปด้วย ไม่ใช่แค่เฉพาะเจ้าของธุรกิจ และก็ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินเชื่อในการซื้อธุรกิจหรือสินทรัพย์อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

แต่ในวันนี้ผมอยากจะให้ทางพี่ชมพู่ มาแนะนำเกี่ยวกับการขอสินเชื่อซื้อบ้านสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจหรือร้านอาหารโดยเฉพาะ เพราะตัวผมเองนั้นทราบมาว่าการขอสินเชื่อสำหรับเจ้าของธุรกิจนั้น มีรายละเอียดที่แตกต่างจากผู้ที่ทำงานประจำ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเอกสาร หรือความยากง่ายในการได้รับการอนุมัติที่ไม่เหมือนกัน

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปรู้จักและฟังคำแนะนำดี ๆ จากพี่ชมพู่กันเลยดีกว่าครับ

1.ช่วยแนะนำตัวคร่าว ๆ หน่อยได้มั้ยครับ

สวัสดีค่า ชมพู่ หรือ ชื่อในวงการคือ Tiya อยู่บริสเบนมาสิบสี่ปี มาเรียนโทที่นี่จบแล้วก็อยู่ที่เมืองนี้มาตลอด

สมัยเรียนปริญญาโทที่ James Cook University

ชอบความชิลไม่วุ่นวาย อากาศคล้าย ๆ บ้านเรา ตอนนี้เป็น Finance Broker ของบริษัท TMP Financial Services ค่ะ  ช่วยทำเรื่องสินเชื่อต่าง ๆ ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นบ้านที่อยู่อาศัย เพื่อการลงทุน จะเป็นตึกอาคาร Commercial กู้ทำร้านตกแต่งร้าน ซื้ออุปกรณ์ รถยนต์ เครื่องจักร ได้หมด …ถ้าเรื่องสินเชื่อ ต้องเชื่อมือเรา…

2.จุดเริ่มต้มของการได้มาทำสายอาชีพโบรกเกอร์

เริ่มจากชมเคยทำงานเป็นเซลล์ขายอสังหาริมทรัพย์มาก่อน และเวลาเราเจอลูกค้าที คำถามแรกเลยคือลูกค้าจะถามก่อนและเค้ากู้ได้ไหม ได้เท่าไหร่ เราก็ต้องต่อสายหาโบรกเกอร์หรือแบงก์เพื่อช่วยลูกค้า พอเจอแบบนี้บ่อย ๆ เลยตัดสินใจไปเรียนเพื่มเพื่อจะถือสอง licenses ไปเลย เป็นทั้งคนขายบ้านและโบรกเกอร์ แต่งานนี้เป็นงานที่แบบรู้ซึ้งถึงสัจธรรมที่ว่าเรียนกับทำงานจริงคนละเรื่องเลย (555)

งานโบรกเกอร์มีความยากและจุกจิกสูงมากเช่น ต้องมี Mentor ดูแลเราสองปี มี compliance บังคับ และต้องเรียนรู้ เทรนนิ่งอยู่เสมอ คิดเป็นภาพว่าเรามีธนาคารให้เลือกกว่า 30 แห่ง แต่ละที่ทั้งสินค้าและเกณฑ์ ไม่เหมือนกัน พอมาทำจริง ๆ เชื่อเลยค่ะกับคำกล่าวที่ว่า จะประสบความสำเร็จในการเป็นโบรกเกกอร์ต้องลงมาทำงานนี้เต็มตัว เราจึงเลิกงานขายมาทุ่มเทตรงนี้เต็ม ๆ ค่ะ

และมีอีกคำตอบที่โลกสวย คือ รู้สึกว่างานโบรกเกอร์ตอบโจทย์จิตวิญญาณค่ะ เราชอบที่จะได้ช่วยเหลือใครจริง ๆ ไม่ต้องมีผลประโยชน์มาเกี่ยว ตอนเป็นเซลล์มีสินค้าอะไรเราก็ต้องพยายามขายสิ่งนั้นให้ได้ตามเป้า แต่การทำงานโบรกเกอร์คือให้ลูกค้าเป็นหลัก เชิญเลือกเลยค่ะ เปรียบเทียบเอาเลย ดอกเบี้ยแบบนี้ ๆ กู้ได้ขนาดนี้ จะไปธนาคารไหนดี คัดสรรให้ตรงกับความต้องการ และเงื่อนไขของลูกค้ามากที่สุด

รูปสมัยทำงานเป็นเซลล์ขายบ้าน

3. การเป็นเจ้าของธุรกิจหรือร้านอาหาร จะได้รับการอนุมัติเงินกู้ยากกว่าจริงมั้ย

ตอบได้สองแบบ แบบแรกคือ ถ้าเป็นบ้านหลังแรกกู้ยุ่งยากกว่าการเป็นพนักงานเงินมีเงินเดือนประจำค่ะ เพราะสำหรับเจ้าของกิจการ ธนาคารส่วนมากจะดูว่า ABN ต้องจัดตั้งมาอย่างต่ำ 2 ปี ผลประกอบการสองปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร บางคนคิดว่าจะกู้ปีนี้ผลกำไรปีนี้เยอะจะกู้ได้เยอะ แต่ปีแรกขาดทุนอย่างหนักเลย อันนี้ก็ไม่ใช่นะคะ บางแบงก์ก็เอาสองปีมาบวกกันหารสอง บางแบงก์ก็ใช้ปีล่าสุดได้ มีหลาย ๆ แบบค่ะ แล้วแต่ธนาคารไหน เงื่อนไขก็จะต่างกัน

ตอบอีกแบบคือ สำหรับคนที่มีหรือคิดจะซื้อหลาย ๆ หลัง แน่นอนค่ะการเป็นเจ้าของกิจการที่รายได้สูง ๆ จะเล่นกับตัวเลขได้มากกว่าพนักงานเงินเดือนประจำค่ะ ตัวอย่างเช่นค่าใช้จ่าย Depreciation, Interest เอากลับมาบวกเพิ่มจากยอดกำไรสุทธิได้ค่ะ

และถ้าให้แฟนซีไปอีก กลุ่ม private lenders อันนี้ก็จะยืดหยุ่นให้เจ้าของกิจการสูงมากเช่น ใช้แค่ BAS (Business Activity Statement) 2 ไตรมาสล่าสุด หรือจดหมายจากนักบัญชียืนยันรายได้ก็สามารถกู้ได้ค่ะ แต่ดอกเบี้ยก็สูงกว่าธนาคารปกติ และอาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเช่น ค่า risk fee แต่ก็เป็นทางเลือกให้ลูกค้าที่กู้กับแบงค์ปกติไม่ได้ค่ะ

4. เอกสารที่จำเป็นในการขออนุมัติเงินกู้สำหรับเจ้าของร้านอาหารที่ต่างจากพนักงานประจำทั่วไปคือ

จะมี 2 years individuals and Business tax return, profit and loss statement, และ BAS 2 ไตรมาสค่ะ

5. เป็นเจ้าของร้านอาหาร แต่ไม่ได้เป็นพลเมืองถาวรหรือ Citizen สามารถกู้ซื้อบ้านในออสเตรเลียได้หรือไม่

ได้ค่ะ แต่ต้องดูด้วยว่าวีซ่าอะไร เช่น วีซ่าธุรกิจกู้ได้ กลุ่ม private lenders ปล่อยกู้ให้ 70-80% แล้วแต่ว่าชนิดอสังหาคืออะไร และโลเคชั่นอยู่ที่ไหน

อย่างเช่น Apartment ก็จะกู้ได้น้อยกว่าบ้านปกติ ต้องมีมัดจำสูง คร่าวๆเตรียมค่าใช้จ่ายแรกซื้อไว้ 35% ของราคาบ้าน ถ้าหากซื้อในรัฐควีนส์แลนด์ หากไม่ได้เป็น Citizen จะต้องทำเรื่องขอซื้อจากองค์กร FIRB มีค่าธรรมเนียม และยังต้องจ่ายค่าโอนอีก 10% ของราคาซื้อ รวมไปถึงซื้อได้แค่บ้านมือสอง จุดประสงค์เพื่ออยู่อาศัยเองเท่านั้น แต่หากเป็นบ้านมือหนึ่ง จะอยู่เองหรือปล่อยให้เช่าก็ได้ค่ะ

แต่ถ้ามีคู่สมรสหรืออีกคนในการร่วม ที่ถือสัญชาติออสเตรเลียก็อีกเรื่องนึงนะคะ

การฝึกงานครั้งแรกกับ TMP Sydney x ทีมทนาย Conveyancing

6. กู้ซื้อบ้านหลังแรก ด้วยเงินฝากแค่ 5% ทำได้จริงมั้ย

จริงค่ะ ยกตัวอย่างเช่น บ้านหลังแรกถ้าเป็น citizen จะมีตัวช่วยจากรัฐบาล แต่มีจำนวนจำกัดและกฎนิดหน่อยไม่ใช่ทุกธนาคารที่เข้าร่วมโครงการนี้

นอกจากจะใช้แค่ 5% แล้ว ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกัน ทำให้ประหยัดเพิ่มไปหมื่นดอล แถมดอกเบี้ยก็จะถูกลงด้วยค่ะ  เจ้าของกิจการก็ได้ด้วยนะ แต่ปัญหาที่เจอสำหรับเจ้าของกิจการคือ ตัวช่วยนี้ต้องใช้ NOA (Notice of Assessment) ปีล่าสุด และเจ้าของกิจการส่วนใหญ่ยังไม่ได้ยื่นภาษีกัน

7. หากเจ้าของร้านอาหารอยากขยายกิจการเพิ่ม โบรกเกอร์สามารถเข้ามาช่วยเหลือตรงนี้อย่างไรได้บ้าง

ทางเรามี Commercial Loan เช่นท่านที่ต้องการซื้ออาคารพาณิชย์ สร้างโรงงาน สร้างร้าน ตกแต่งร้าน ซื้ออุปกรณ์ เปลี่ยนครัวใหม่ ซื้อเครื่องจักร อะไรทำนองนี้ เราช่วยยื่นเรื่องกู้ให้ได้หมดค่า

8. ฝากอะไรถึงผู้ที่สนใจต้องการกู้ซื้อบ้าน หรือสินเชื่อเพื่อเจ้าของร้านอาหาร

TMP Financial Services เรามีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในการเขียนขอกู้ยืมให้กับทั้งลูกค้าคนไทยและต่างชาติมานานหลายปี เรียกได้ว่าในทีมประสบการณ์นี่ตั้งแต่ 2 - 30 ปีกันเลยนะคะ เคสคนไทยแทบจะทุกแบบผ่านมือทีมเรามาหมดแล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะยากง่ายอย่างไร ลองติดต่อมานะคะ เรามีทางออกหรือคำแนะนำให้เสมอ

ทีมโบรกเกอร์ TMP x ทีม Paragon Realty

ส่วนใครกังวลว่าติดต่อแบงก์จะไม่ไวกว่าหรือ โบรกเกอร์ในทีมเราเป็นระดับ Platinum และ Premium ในหลาย ๆ แบงก์ สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เราบริการลูกค้าได้ฉับไว Loan ผ่านไว ไม่ต้องกังวล บางทีลูกค้าตกใจอะไรจะไวขนาดนี้

และถึงแม้สาขาหลักเราจะอยู่ที่ซิดนีย์ และชมจะประจำอยู่ที่บริสเบนแต่ อยู่รัฐไหนเราก็บริการได้ค่า โทรหาได้เลย ชมพู่ 0435 569 555 หรือจะติดต่อในเพจ TMP Financial Services -Mortgage Broker สินเชื่อคนไทยในออสเตรเลีย

ถ้าเรื่องสินเชื่อ ต้องเชื่อเรา


บทความอื่น ๆ


สนใจถ่ายรูปอาหาร โปรดักส์สินค้า หรือทำการตลาด ติดต่อได้ที่

Facebook: www.facebook.com/TheNontouch
Instagram: www.instagram.com/the.nontouch
Email: thenontouch@gmail.com

Sydney, Melbourne, Brisbane, Gold Coast, Sunshine Coast, Adelaide, Canberra

Previous
Previous

ภาพผลงานบางส่วนที่ทำให้กับร้าน Porkfat Sydney

Next
Next

Now Book It ระบบจองโต๊ะสำหรับร้านอาหาร ดียังไง?